หน้าหลัก ภารกิจ ทำเนียบ ประชาสัมพันธ์ การฝึก- ศึกษา ฝ่ายกิจการพลเรือน

วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551

สังเกตแบ็งค์ปลอม


เมื่อส่องกับแสงสว่างลวดลายทั้งสองด้านจะซ้อนทับกันเป็นรูปดอกบัวที่สมบูรณ์










สำหรับธนบัตรชนิดราคา ๕๐๐ บาท และ ๑๐๐๐ บาท จะมีบางส่วนของแถบสีโลหะปรากฎให้เห็นเป็นระยะ ๆ ที่ด้านหลังของธนบัตร เมื่อยกขึ้นส่องดูกับแสงสว่างจะเห็นเป็นเส้นต่อเนื่อง มีตัวเลขและอักษรโปร่งแสงขนาดเล็กแจ้งชนิดราคาธนบัตรเช่นเดียวกัน




ตัวเลขขนาดจิ๋วที่มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย












ลวดลายของธนบัตรประกอบด้วยลายเส้นที่มีลักษณะคมชัด สวยงาม และมีความละเอียดซับซ้อนสูง โดยลวดลายบางส่วนได้ออกแบบให้มีตัวเลขหรือตัวอักษรขนาดจิ๋วซ่อนไว้อย่างกลมกลืน เพื่อทำให้ยากต่อการปลอมแปลง ซึ่งจะมองเห็นได้ชัดเจนเมื่อใช้แว่นขยาย
















ธนบัตรเป็นสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทหนึ่ง มีความพิเศษแตกต่างจากสิ่งพิมพ์มีค่าประเภทอื่น เพราะนอกจากลักษณะต่อต้านการปลอมแปลงที่ต้องบรรจุไว้ในพื้นที่พิมพ์อันจำกัดแล้ว ลวดลายในธนบัตรยังต้องมีคุณค่าทางศิลปะ มีความประณีตสวยงาม และเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทย ดังนั้น เพื่อคงไว้ซึ่งความน่าเชื่อถือสมเป็นสื่อกลางสำหรับใช้ในการแลกเปลี่ยน ธนบัตรต้องมีลักษณะพิเศษที่ยากต่อการปลอมแปลง แต่ประชาชนสามารถสังเกตจดจำได้ดี และแยกแยะความแตกต่าง ด้วยวิธีสังเกตง่าย ๆ ๓ วิธี ได้แก่ สัมผัส ยกส่อง และพลิกเอียง
อย่างไรก็ดี เพื่อความมั่นใจจึงควรสังเกตจุดสำคัญต่าง ๆ บนธนบัตรอย่างน้อย ๓ จุด ขึ้นไป สำหรับธนบัตรแบบที่ใช้ในปัจจุบัน มีรายละเอียดการสังเกต ดังนี้

Google